วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณนักคอมพิวเตอร์

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์



ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์
           เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
     1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
     2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
     3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
     4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
          โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
     1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
     2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
     3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
     4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
          ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
     1. กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     2. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
     3. กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
     4. กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
     5. กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
     6. กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
          ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณต่อตนเอง
  1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
                1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
                1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
  2. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
                2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
                2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
                3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
                3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
                3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม
  4. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
                4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
                4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
                4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  5. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
                5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
               5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

ความปลอดภัยของข้อมูล



           ข้อมูลที่ดีเป็นข้อมูลที่มีค่ามีราคา สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อกิจการขององค์กร และในมุมกลับกันอาจก่อให้เกิดโทษต่อองค์กรหรือบุคคลผู้ให้ข้อมูล ถ้าข้อมูลตกลงไปอยู่ในมือผู้ไม่ประสงค์ดี ดังนั้นความปลอดภัยของข้อมูล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนัก ความปลอดภัยของข้อมูล (data security) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย การรักษาความลับของข้อมูล และการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย การรักษาความลับของข้อมูล และการป้องกันการกระทำการทุจริตต่อข้อมูล ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลมักมีสาเหตุจาก
     • ความผิดพลาดของระบบ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องในระหว่างการประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลเกิดสูญเสียได้ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลยังมีข้อผิดพลาดบางจุดซึ่งอาจทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือสูญเสียได้เช่นกัน
     • อุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ทำให้ข้อมูลที่เก็บอยู่สูญเสียได้
     • บุคคลอาจทำให้ข้อมูลสูญเสีย เช่น มีการสั่งลบข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลทับของเดิม หรือบุคคลอาจมีเจตนาร้ายต้องการทำให้ข้อมูลสูญเสีย เนื่องจากความโกรธแค้นจงใจทำลายข้อมูล
     • การขโมยข้อมูลซึ่งเป็นความลับเพื่อนำไปขายหรือให้คู่แข่ง ซึ่งสามารถทำได้ง่าย โดยแอบสำเนาลงบนแผ่นบันทึก
     • การกระทำทุจริตต่อข้อมูล เช่น มีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงิน เพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือมีผู้รับจ้างให้กระทำการทุจริต
     • สาเหตุอื่น ๆ เช่น ความร้อนชื่น ฝุ่นละออง และสนามแม่เหล็ก


         การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจถูกทำลาย หรือเสียหายด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นอาจทำได้ดังนี้
     • การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์
     • การทำสำเนาข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลอยู่ในแผ่นบันทึกอาจทำสำเนา ข้อมูลทั้งแผ่นโดยใช้คำสั่ง copy แต่ถ้าข้อมูลอยู่ในจานแม่เหล็กชนิดแข็งหรือกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากจะทำสำเนาโดยการใช้คำสั่ง backup ลงบนแผ่นบันทึกหรือในเทปแม่เหล็ก
     • การรักษาความลับของข้อมูล มาตรการแรกในการป้องกันคือ การควบคุมการเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดว่าใครบ้างที่สามารถเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ มาตรการต่อมาคือ การกำหนดรหัสผ่าน (password) เพื่อผ่านเข้าไปใช้โปรแกรมหรือการเข้าถึงข้อมูล นอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดขอบเขตเฉพาะแฟ้มข้อมูลเฉพาะแฟ้มบุคคลเฉพาะบุคคล ไม่มีสิทธิไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลของแฟ้มรายได้ เป็นต้น