วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อาชญากรรม อาชญากรคอมพิวเตอร์

อาชญากรและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
              
                อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น สามารถจำแนกอาชญากรเป็นกลุ่มได้ดังนี้
                1. พวกมือใหม่ (Novices) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด  อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                2.  Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
                3.  Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
                4.  Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
                5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
                6.  Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
                7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
                8. นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ 
                9. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่ พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น
                10. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น 
                11. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น 
                อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งในปัจจุบันได้จัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
                1.  การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
                2.  อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
                3.  การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
                4.  ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
                5.  ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
                6.  อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
                7.  หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
                8.  แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
                9.  ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
              1. พวกมือใหม่หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้ และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย ไม่ได้ดำรงชีพโดยการกระทำความผิด
              2. นักเจาะข้อมูล ผู้ที่เจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
              3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตรเอทีเอ็ม ของผู้อื่น
              4. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่น พวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น
              5. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นคงจะไม่ใช่มีผลกระทบเพียงแต่ความมั่นคงของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ทั้งความมั่นคงภายใน
และภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข่าวกรอง หรือการจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมเช่น
              1. ในปัจจุบันความมั่นคงของรัฐนั้นมิใช่จะอยู่ในวงการทหารเพียงเท่านั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถป้องกัน หรือทำลายความมั่นคงของประเทศได้
              2. ในปัจจุบันการป้องกันประเทศอาจไม่ได้อยู่ที่พรมแดนอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการคุกคาม หรือทำลายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
              3. การทำจารกรรมในสมัยนี้มักจะใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
              บนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความผิดต่าง ๆ ล้วนแต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การจารกรรม การก่อการร้าย การค้า ยาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน การฟอกเงิน การโจมตีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เช่น ระบบจราจร หรือระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็น
ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของชาติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด การโจมตีผ่านทางระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สามารถทำได้ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับการเคลื่อนที่ความเร็วแสง ซึ่งเหนือกว่า
การเคลื่อนทัพทางบก หรือการโจมตีทางอากาศ



วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

               Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลที่สามารถเข้าถึงตัวข้อมูลได้ เช่น พนักงานที่มีหน้าที่บันทึกเวลาการทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง เป็นต้น

              Trojan Horse คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดีจะปรากฏตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ หรือการทำลายล้างข้อมูล หรือระบบคอมพิวเตอร์
              Salami Techniques คือ วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่จ่ายได้ และจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุล (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงินออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า
              Super zapping มาจากคำว่า Super zap เป็นโปรแกรม Macro Utility ที่ใช้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉินเสมือนกุญแจดอกอื่นหายหรือมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เช่นโปรแกรม Super zapจะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี
              Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการ ไว้ในไฟล์ลับ
              Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมที่มีคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะ หรือสภาพการณ์ ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือนแล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว
              Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือ สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างานที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงาน เข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น

              Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบริเวณใกล้เคียงหลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกงานแล้ว

              Data Leakage คือ การทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เช่น การแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่กำลังทำงานคนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งาน

              Piggybacking วิธีการนี้สามารถทำได้ทางกายภาพ (Physical) คือ การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลนั้นได้เข้าไปคนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังปิดไม่สนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกัน อาจเกิดในกรณีที่ใช้สายสื่อสารเดียวกับผู้ที่มีอำนาจใช้ หรือได้รับอนุญาต เช่น ใช้สายเคเบิล หรือโมเด็มเดียวกัน

              Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจ หรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมยบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคาร และแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีการป้องกันไม่ให้เงินในบัญชีของเหยื่อสูญหายจึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัสและได้เงินของเหยื่อไป

              Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศโดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

              Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการควบคุมและติดตามความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากร ในการสร้างแบบจำลองในการวางแผน เพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่น ในกิจการประกันภัยมีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการ หรือช่วยในการตัดสินใจ ในการทำกรมธรรม์ประกันภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทประกันภัยจริงล้มละลาย เมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดการต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินเพียงการบันทึก (จำลอง) ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอาย


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



 สรุป พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
              การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

              การเปิดเผยรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การดักจับข้อมูลของผู้อื่นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การส่งอีเมล์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น (Spam Mail) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
              การสร้างโปรแกรมเพื่อนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
              การทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
              การทำให้กระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัย ของประเทศและเศรษฐกิจ ต้องระวางโทษจำคุก 3 - 15 ปี และปรับ60,000 - 300,000 บาท
              การเป็นสาเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ต้องระวางโทษจำคุก 10 - 20 ปี
              การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              การตกแต่งรูปของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




             

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และกฎหมายลิขสิทธิ์ 
               ลิขสิทธิ์คืออะไร : ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิชสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
            งานอันมีลิขสิทธิ์ : งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิชสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่าภาพ รวมถึงงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
                การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
: สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
             การคุ้มครองลิขสิทธิ์ : ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองต่อไปนี้อีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
             ประโยชน์ต่อผู้บริโภค : การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า ทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ



การละเมิดลิขสิทธิ์
               การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม :  คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร


บทกำหนดโทษ 
               การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง :  มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก จะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วยค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าวไรก็ดีการได้รับค่าปรับดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น

มูลค่าการละเมิดลิขสิทธิ์             
               ในปี 2542 สถิติการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย มีอัตราสูงถึงร้อยละ 81 ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สูญเสียรายได้มากกว่า 3,200 ล้านบาท ความสูญเสีย ดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยอีกด้วย การละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ เป็นอุปสรรค ที่บั่นทอนการพัฒนาวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในภูมิภาค การลดอัตรา การจ้างงาน การพัฒนาบุคลากร การลงทุน และทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากการเก็บภาษีอันจะ นำมาพัฒนาประเทศได้อีกด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยใช้ความสามารถในการคิดค้น และเพิ่มศักย์ภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพของประชาชน บุคลากรรุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่ตลาดแรงงานจะมีภาคธุรกิจรองรับ หากแต่การละเมิดลิขสิทธิ์เป้นปัญหาสำคัญที่ทำให้ความเจริญเติบโตเหล่านี้หยุดยั้งไป เนื่องจากธุรกิจที่ซื่อสัตย์ไม่สามารถแข่งขันได้ และขาดกำลังใจในการพัฒนาธุรกิจของตน


การกระทำที่ถูกกฎหมายทำได้อย่างไร       
                ซื้อลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ที่ท่านใช้งานอยู่ ทุกซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานต้องมีลิขสิทธิ์เสมอติดตั้งและใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 1 ชุดในคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น อย่าทำสำเนาโปรแกรมเพื่อการสำรองมากกว่า 1 สำเนา อย่าให้ผู้ใดขอยืมซอฟต์แวร์ของท่านไปติดตั้ง


ทราบได้อย่างไรว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่         
               เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ 

ข้อสังเกตของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
               ซอฟต์แวร์ราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ โปรแกรมนั้นอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่บรรจะซอฟต์แวร์หลายชนิดซึ่งมักเป็นผลงานจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัท ซอฟต์แวร์จำหน่ายโดยบรรจุในกล่องพลาสติกใสโดยไม่มีกล่องบรรจุภัณฑ์ ไม่มีเอกสารอนุญาตการใช้งาน หรือคู่มือการใช้งาน
สิทธิบัตร
               สิทธิบัตร (อังกฤษ: patent) เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งหากต้องการขอรับความคุ้มครอง จะต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรได้ที่ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 0-2547-4637 หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกแห่ง
               สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ, เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, ทีวี, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น          
                สิทธิบัตร คือ สิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่งสิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตร
               การออกแบบผลิตภัณฑ์
การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับกลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น

              อนุสิทธิบัตร (
Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่เป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น 
เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร
               การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 อย่าง ดังต่อไปนี้
               1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ในทีวี หรือในวิทยุ มาก่อน
              2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น คือ ไม่เป็นสิ่งการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่าย โดยผู้มีความรู้ในระดับธรรมดา หรืออาจพูดได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อน
              3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมได้การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 อย่าง ดังต่อไปนี้
                    1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ในทีวี หรือวิทยุ มาก่อน
             2.
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมได้
               การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน 
อายุสิทธิบัตร
              สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร  สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
อายุอนุสิทธิบัตร
               อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 6 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี รวมเป็น 10 ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถที่จะเลือกว่า จะยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขอความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้


วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณนักคอมพิวเตอร์

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์



ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์
           เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
     1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
     2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
     3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
     4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
          โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
     1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
     2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
     3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
     4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
          ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
     1. กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     2. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
     3. กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
     4. กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
     5. กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
     6. กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
          ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณต่อตนเอง
  1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
                1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
                1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
  2. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
                2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
                2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
                3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
                3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
                3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม
  4. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
                4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
                4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
                4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  5. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
                5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
               5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

ความปลอดภัยของข้อมูล



           ข้อมูลที่ดีเป็นข้อมูลที่มีค่ามีราคา สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อกิจการขององค์กร และในมุมกลับกันอาจก่อให้เกิดโทษต่อองค์กรหรือบุคคลผู้ให้ข้อมูล ถ้าข้อมูลตกลงไปอยู่ในมือผู้ไม่ประสงค์ดี ดังนั้นความปลอดภัยของข้อมูล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนัก ความปลอดภัยของข้อมูล (data security) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย การรักษาความลับของข้อมูล และการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย การรักษาความลับของข้อมูล และการป้องกันการกระทำการทุจริตต่อข้อมูล ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลมักมีสาเหตุจาก
     • ความผิดพลาดของระบบ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องในระหว่างการประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลเกิดสูญเสียได้ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลยังมีข้อผิดพลาดบางจุดซึ่งอาจทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือสูญเสียได้เช่นกัน
     • อุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ทำให้ข้อมูลที่เก็บอยู่สูญเสียได้
     • บุคคลอาจทำให้ข้อมูลสูญเสีย เช่น มีการสั่งลบข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลทับของเดิม หรือบุคคลอาจมีเจตนาร้ายต้องการทำให้ข้อมูลสูญเสีย เนื่องจากความโกรธแค้นจงใจทำลายข้อมูล
     • การขโมยข้อมูลซึ่งเป็นความลับเพื่อนำไปขายหรือให้คู่แข่ง ซึ่งสามารถทำได้ง่าย โดยแอบสำเนาลงบนแผ่นบันทึก
     • การกระทำทุจริตต่อข้อมูล เช่น มีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงิน เพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือมีผู้รับจ้างให้กระทำการทุจริต
     • สาเหตุอื่น ๆ เช่น ความร้อนชื่น ฝุ่นละออง และสนามแม่เหล็ก


         การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจถูกทำลาย หรือเสียหายด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นอาจทำได้ดังนี้
     • การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์
     • การทำสำเนาข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลอยู่ในแผ่นบันทึกอาจทำสำเนา ข้อมูลทั้งแผ่นโดยใช้คำสั่ง copy แต่ถ้าข้อมูลอยู่ในจานแม่เหล็กชนิดแข็งหรือกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากจะทำสำเนาโดยการใช้คำสั่ง backup ลงบนแผ่นบันทึกหรือในเทปแม่เหล็ก
     • การรักษาความลับของข้อมูล มาตรการแรกในการป้องกันคือ การควบคุมการเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดว่าใครบ้างที่สามารถเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ มาตรการต่อมาคือ การกำหนดรหัสผ่าน (password) เพื่อผ่านเข้าไปใช้โปรแกรมหรือการเข้าถึงข้อมูล นอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดขอบเขตเฉพาะแฟ้มข้อมูลเฉพาะแฟ้มบุคคลเฉพาะบุคคล ไม่มีสิทธิไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลของแฟ้มรายได้ เป็นต้น